4 ข้อเสนอนโยบายเพื่อสิทธิของเด็กและเยาวชนในศูนย์การเรียน

หนึ่งในตาข่ายการศึกษาที่ถักทออย่างเหนียวแน่นด้วยความทุ่มเททั้งกายและใจ โดยผู้คนในชุมชน และภาคส่วนต่างๆ ที่ไม่นิ่งเฉยเพื่อไม่ให้มีเด็กคนใดหลุดไปจากระบบการศึกษาไม่ว่าจะมีข้อจำกัดเพียงใดก็ตาม  คือ ศูนย์การเรียน ที่ดำเนินการโดยบุคคล องค์กรชุมชนและองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ และสถานประกอบการที่จัดสายสามัญ

ปัจจุบันมีอยู่ราว 128 แห่งทั่วประเทศ และเป็นทางเลือกของเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการเฉพาะ มีข้อจำกัดในชีวิต มีความพร้อมที่การศึกษาในระบบไม่สามารถตอบสนองได้ เช่น เด็กพิการ เด็กกลุ่มชาติพันธุ์  พ่อแม่วัยใส เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม  ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิ การศึกษาของเด็กทุกคน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์การเรียนเหล่านี้ ทำงานด้วยหัวใจอาสา และพึ่งพาตัวเอง ยังมีช่องว่างในระบบการศึกษาไทยที่ยังไม่ได้สนับสนุนผู้เรียนและศูนย์การเรียน ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้การพัฒนาศูนย์การเรียน ทางเลือกการศึกษายืดหยุ่นเพื่อเด็กและเยาวชนทุกคน  ในเวทีพัฒนาตาข่ายการศึกษา ‘ศูนย์การเรียน’ ร่วมขับเคลื่อน Thailand Zero Dropout เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.67 ณ โรงแรมกรีนเลครีสอร์ท จ.เชียงใหม่ ได้มีการระดมสมอง ถอดบทเรียน ข้อค้นพบ และข้อเสนอนโยบาย มีประเด็นสำคัญดังนี้

  • สิทธิเพื่อเด็กในศูนย์การเรียน
    นโยบายเรียนฟรี 15 ปี  ควรเพิ่มงบประมาณให้ครอบคลุมการเรียนรู้ในทุกเส้นทาง เช่น ศูนย์การเรียน ซึ่งในปัจจุบัน มีเพียงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียนสถานประกอบการที่จัดสายอาชีวศึกษาเท่านั้นที่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวแก่ผู้เรียน ขณะที่ศูนย์การเรียนประเภทอื่น ยังไม่มีระเบียบใด ๆ ออกมาสนับสนุนการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว และสิทธิประโยชน์แก่ผู้เรียน เช่น การได้รับอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน อุปกรณ์การเรียนการสอน เสื้อผ้า/ยูนิฟอร์ม การได้รับวัคซีน การตรวจสุขภาพจากสถานพยาบาล  นอกจากนี้ ควรพัฒนาการจัดชุดสวัสดิการที่เหมาะสมกับความต้องการตามสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนเป็นรายคน  เช่น กลุ่มแม่วัยใส เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กพิการ หรือ ผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะอาชีพ เป็นต้น 
  • สิทธิเพื่อครูและผู้จัดการศึกษา
    งบประมาณสำหรับบริหารจัดการสถานศึกษา และงบประมาณ สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ สำหรับครูและผู้จัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลาย ควรมีโอกาสได้รับสวัสดิการ ค่าตอบแทน และการฝึกอบรมทักษะความรู้ในการจัดการศึกษาตามสิทธิที่ควรได้รับตามกฎหมายอย่างเหมาะสมเท่าเทียม

ประเด็นเดิมประเด็นที่ต้องการแก้ไขเหตุผลประกอบ
กฎกระทรวงว่าสิทธิขององค์กรชุมชนและองค์กรเอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๑๓ ศูนย์การเรียนอาจได้รับสิทธิประโยชน์ด้านเงินอุดหนุนจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์เอกชนอื่นสำหรับจัดการศึกษา
กฎกระทรวงข้อ ๑๓
-ตัดคำว่า อาจ ออกเพื่อให้ศูนย์การเรียนได้รับสิทธิประโยชน์ด้านเงินอุดหนุนจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์เอกชนอื่นสำหรับจัดการศึกษาได้ 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ๓) พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๐ /มาตรา ๑๔
ผู้จัดการจัดการศึกษาตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ ไม่มีระบบฐานข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล(Data Management Center: DMC)
ส่งผลให้ไม่ได้เงินอุดหนุนสำหรับอาหารกลางวัน/เงินอุดหนุนสำหรับอาหารเสริม(นม) จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
– เสนอ สพฐ.มีระบบฐานข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล (Data Management Center: DMC)
– กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จัดสรรเงินอุดหนุนสำหรับอาหารกลางวัน/เงินอุดหนุนสำหรับอาหารเสริม(นม) ให้กับเด็กที่เรียนอยู่ในมาตรา ๑๒
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖, ๒๗
-เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการดูแลทั้งทางด้านกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญาด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียม
กฎกระทรวงข้อ ๒ องค์กรชุมชนและองค์กรเอกชนอาจจัดการศึกษาในรูปแบบนอกระบบหรือตามอัธยาศัยโดยตั้งศูนย์การเรียนสำหรับผู้ขาดโอกาสในการเข้าศึกษาในระบบโรงเรียนปกติควรเพิ่ม “ผู้ที่มีความสนใจโดยตั้งศูนย์การเรียนสำหรับผู้ขาดโอกาสในการเข้าศึกษาในระบบโรงเรียนและผู้ที่มีความสนใจ เพื่อเปิดทางเลือกที่หลากหลายให้ผู้เรียน
– การกำหนดอายุของผู้เรียนในศูนย์การเรียนให้เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและอัธยาศัย
– เพื่อเปิดโอกาสและสร้างทางเลือกในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาของผู้เรียนตามความสนใจ ความต้องการ
– ศูนย์การเรียนจัดการศึกษาจัดการศึกษาโดยกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและสร้างทางเลือกให้ผู้เรียนควรจัดทุกช่วงอายุ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมหาวิทยาลัย ไม่มีความเข้าใจเรื่องการจัดการศึกษาทางเลือกในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเสนอให้เกิดเวทีการทำความเข้าใจการจัดการศึกษาในรูปแบบ ‘ศูนย์การเรียน’ กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมหาวิทยาลัย เพื่อ
–  การส่งต่อผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา
–  การรับนักศึกษาด้านครุศาสตร์มาฝึกงาน
– สถาบันการศึกษาที่พัฒนาครูในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าใจการศึกษาในรูปแบบนอกระบบและตามอัธยาศัย
– เสนอให้ สพฐ. ทำความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีความเข้าใจเรื่องการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งมหาวิทยาลัย
เสนอให้เกิดจัดตั้งคณะทำงานปรับแก้กฎกระทรวงฯที่ไม่สอดคล้องกับบริบทความเป็นจริง ขอให้มีตัวแทนจาก สพฐ., สภาการศึกษา, กสศ., ศูนย์การเรียนทุกกฏกระทรวง และผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย