ปัจจุบันการเรียนรู้ซ่อนอยู่ในเรื่องราวเล็กน้อยใกล้ตัว ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และเริ่มต้นจากชุมชนที่เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมา
หลักคิดข้างต้น คือ “การเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน” อย่างการจัดการศึกษาของจังหวัดสุราษฎร์ธานีใช้เปิดพื้นที่ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและผู้ใหญ่ในชุมชน จนสำเร็จเป็นรูปร่างและสามารถถ่ายทอดออกมาเป็น ‘พิมพ์เขียว’ การจัดการเรียนรู้ได้
“เมื่อตาเราเปลี่ยน ใจจะเปลี่ยน ใจมีความละเอียด และใส่ใจการมองคนในทุกมิติมากขึ้น ไม่ตัดสิน และรับฟัง”
เป็นมุมมองสำคัญของ ‘ภัสรา รู้พันธุ์’ ตัวแทนจากกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับพื้นที่ “อนาคตเด็ก อนาคตสุราษฎร์ธานี” ที่จัดขึ้นปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็น เปิดรับมุมมองจากผู้ขับเคลื่อนและคนทำงานจริงที่ต้องการให้เด็กมีพื้นที่เรียนรู้และอยากให้การเรียนรู้เป็นเรื่องของทุกคน
เพราะในหลายๆ พื้นที่ การเรียนรู้อาจจะเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยน การส่งต่อทักษะและเรื่องราวของคนในชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลังนำไปต่อยอดและเลี้ยงดูตัวเองได้ในอนาคต
และนี่คือ 6 แนวทางจัดการศึกษาจากสุราษฎร์ธานีที่สะท้อนว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และเริ่มต้นได้จากพื้นที่เล็กๆ ที่พวกเขาเกิดและเติบโต
รับชมเสวนาฉบับเต็มได้ที่ https://www.facebook.com/EEFthailand/videos/1562279314550481