การศึกษายืดหยุ่น
(Flexible Learning)

เป็นแนวทางการศึกษาที่สอดคล้องกับการผลักดันขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่มองว่าเป็นวิธีช่วยให้ผู้เรียนสามารถกำหนดการเรียนรู้ของตนเองได้ ซึ่งจะช่วยสร้างการศึกษาที่ครอบคลุม ภายใต้หลักการความยุติธรรม ความเสมอภาค และสิทธิมนุษยชน

สำหรับประเทศไทย  นวัตกรรมการศึกษายืดหยุ่นจะช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมาย Zero Dropout  และทำให้ประโยค “จากนี้ไปเด็กทุกคนต้องได้เรียน” เกิดขึ้นได้จริง

ระบบนิเวศน์การศึกษายืดหยุ่น

ยืดหยุ่น

เปิดกว้าง

ไร้ขอบเขต

ตอบโจทย์
ชีวิต

ไม่มีใคร
ถูกทิ้งไว้
ข้างหลัง

  • เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ผู้เรียนมีสิทธิ์เลือกสถานที่ เวลา และวิธีการเรียนรู้ตามความสะดวก โดยวัดผลอย่างเปิดกว้างและยืดหยุ่น
  • ชุดทักษะความรู้: มีความหลากหลาย เปิดกว้าง  ไม่จำกัดแค่ความรู้หลักตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ เช่น ความรู้เรื่องการเกษตร กีฬา การแสดง การเงิน ช่างไฟ การทำเว็บไซต์ เป็นต้น
  • รูปแบบการเรียน: มีความหลากหลาย เช่น วิดีโอและคอร์สออนไลน์ การทำงานกลุ่ม การลงมือปฏิบัติจริง เช่น  การทำเกษตร การทำอาหาร การผลิตช่อง TikTok การเขียนนิยายออนไลน์ เป็นต้น
  • ความเร็วในการเรียน: ผู้เรียนสามารถปรับความเร็วและระยะเวลาในการเรียนรู้ประเด็นใดๆ ตามความสามารถของตนเอง
  • ตารางการเรียน: ผู้เรียนสามารถเลือกช่วงเวลาการเรียนรู้ได้อย่างยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
  • สถานที่เรียน: สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนแบบดั้งเดิม แบบออนไลน์ หรือแบบผสมผสาน (blended learning) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและออนไลน์

อ้างอิง